ซ่าส์ทุกลมหายใจ
พระพิฆเนศ
รับซื้อเพชร

ตั้งชื่อมงคล

ตั้งชื่อมงคล ตั้งชื่อลูก หาชื่อมงคล พร้อมความหมายของชื่อ ฟรี ที่เว็บ ตั้งชื่อมงคล.com

Procreate Brushes

ร้านรับซื้อเพชร
แหวนเพชร สร้อยเพชร จี้เพชร เพชรกะรัต เพชรร่วง รับซื้อทุกสภาพ ให้ราคาสูง ร้านเปิดทุกวัน ประเมินราคาให้ฟรี รับซื้อถึงบ้าน.

อาหารเสริม หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีผลข้างเคียงหรือไม่

อาหารเสริม

อาหารเสริม หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จัดเป็นอาหารประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรงนอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติเพื่อเสริมสารบางอย่าง มักอยู่ในรูปลักษณะเป็นเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลว หรือลักษณะอื่น และมีจุดมุ่งหมายสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ มิใช่สำหรับผู้ป่วย และไม่ควรให้เด็กและสตรีมีครรภ์รับประทาน ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาทิ น้ำมันปลา สาหร่ายสไปรูลิน่า กระดูกอ่อนปลาฉลาม น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กลูโคแมนแนน ไคโตซาน เส้นใยอาหาร คอลลาเจนอัดเม็ด ชาเขียวชนิดสกัดบรรจุแคปซูล โค เอ็นไซม์คิวเท็น แคปซูล ฯลฯ

ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ คือ ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อสุขภาพอนามัย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เครื่องมือแพทย์ และวัตถุเสพติด

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทยได้กำหนดคำจำกัดความของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ดังนี้

– ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ (functional food) จัดเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสุขภาพ นอกเหนือจากคุณสมบัติและประโยชน์ของอาหารทั่วๆ ไป.
– ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ (dietary supplements) เป็นอาหารที่กินเพื่อเสริมอาหารที่มีอยู่แล้ว เพื่อเสริมสร้างกลไกการทำงานของร่างกายและช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น เช่น วิตามิน เกลือแร่ สมุนไพร เป็นต้น. รูปแบบของผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะเป็นแคปซูล เม็ด หรือผง
– โภชนเภสัชภัณฑ์ (nutraceuticals) จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสารธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกัน หรือรักษาโรคที่มาจากคุณประโยชน์ของสารอาหารและยา ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของแคปซูล เม็ด หรือผง

เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไม่จัดอยู่ใน กลุ่มยาที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรค จึงไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อนออกจำหน่าย รวมถึงฉลากเตือนถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นหลังกินผลิตภัณฑ์ รวมทั้งในด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาจไม่ได้ตามมาตรฐาน (Good manufacturing practices, GMP) ซึ่งตามมาตรฐาน ต้องรายงานค่าความบริสุทธิ์และค่าความปนเปื้อนที่มักมีโอกาสเกิดขึ้นสูง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากธรรมชาติ อาจมีความแตกต่างกันจากแหล่งที่เพาะปลูกทำให้ปริมาณความเข้มข้นของสารที่มีในผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกันรวมถึงความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงหรือโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว อาซีนิก หรือปรอท7 ตัวอย่างการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีโสมเป็นส่วนประกอบที่จำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา 22 ชนิดพบว่า 8 ชนิดมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงชนิด quintozene และ hexachlorobenzene ที่เชื่อว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ และ 2 ชนิดพบมีปริมาณสารตะกั่วมากกว่ามาตรฐาน8 และผลการรายงานจาก California Department of Health Services ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่นำเข้าจากประเทศแถบเอเชียพบว่าอย่างน้อย 83 ตัวอย่างจากผลิตภัณฑ์ 260 ชนิดที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักและ 23 ชนิดที่มีส่วนผสมที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน

อาหารเสริม คือ สารอาหารที่ใช้รับประทานเพิ่มเติมจากมื้ออาหารหลัก อาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ หรือเพื่อบำรุงสุขภาพตามความเชื่อของบางบุคคล ส่วนสารอาหารที่มักถูกนำมาทำเป็นอาหารเสริม ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน พืช ผัก สมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น

อาหารเสริมถูกผลิตออกมาให้สามารถรับประทานได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบเม็ด แบบแคปซูล แบบผง หรือแบบน้ำ โดยอาหารเสริมอาจเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการรักษาทางการแพทย์ ที่ผู้ป่วยต้องรับประทานภายใต้การดูแลจากแพทย์เท่านั้น หรืออาจถูกวางจำหน่ายตามร้านขายยา ซึ่งผู้บริโภคควรรับประทานตามคำแนะนำของเภสัชกรและข้อบ่งชี้ที่ระบุบนฉลากอย่างเคร่งครัด

ไม่ใช่อาหารเสริมทุกตัวที่ได้รับการรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัย แม้อาหารเสริมบางชนิดจะผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการมาแล้วก็ตาม แต่อาหารเสริมและส่วนประกอบในอาหารเสริมเหล่านั้น อาจยังไม่ได้รับการพิสูจน์ถึงประสิทธิผลและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอย่างชัดเจนเสมอไป ยิ่งไปกว่านั้น การบริโภคอาหารเสริมอย่างผิดวิธี หรือเกินปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้บริโภคได้

ดังนั้น การรับประทานอาหารเสริมแต่ละชนิด จะปลอดภัยก็ต่อเมื่อผู้บริโภคใช้อาหารเสริมตัวนั้นอย่างถูกวิธีในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสม ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรเสมอ

นอกจากประสิทธิภาพทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยในบางกรณีแล้ว การรับประทานอาหารเสริมอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย หรืออาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการรักษาทางการแพทย์บางประการได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เพิ่งเริ่มบริโภคอาหารเสริมเป็นครั้งแรก ผู้ที่บริโภคอาหารเสริมผิดวิธี ผู้ที่บริโภคอาหารเสริมแทนการรับประทานยารักษา ผู้ที่บริโภคอาหารเสริมร่วมกันหลาย ๆ ชนิด หรือบริโภคร่วมกับการใช้ยาชนิดอื่น ๆ ด้วย บุคคลเหล่านี้ คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงจากการบริโภคอาหารเสริมมากกว่าคนทั่วไป

ปัจจุบันมีอาหารเสริมมากมาย หลายชนิดด้วยกัน เนื่องมาจากกระบวนการผลิตที่สะดวก รวดเร็ว ง่าย ผลิตมาจำนวนมากๆ โดยใช้โรงงานที่รับผลิตอาหารเสริม โดยโรงงานต่างก็มีเครื่องมือ เครื่องจักรที่ทันสมัยในการผลิต มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลขั้นตอนการผลิต โดยคุณไม่ต้องมีความรู้เรื่องการผลิต หรือรู้เรื่องอาหารเสริมก็ได้ ส่วนใหญ่พวกดาราดังๆ จะทำค่อนข้างเยอะ เนื่องจากอาศัยความโด่งดังของตัวเอง ช่วยในการเพิ่มยอดขาย ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการจ้างพรีเซ็นเตอร์โปรโมทผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยเป็นคนออกค่าใช้จ่ายเท่านั้น สามารถสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเองได้เลย