Option
 
  ตั้งเป็นหน้าแรก
  พิมพ์หน้านี้
  
เสี่ยงเซียมซี

     คำว่า "เซียมซี" นั้นเป็นภาษาจีน คำว่า เซียม แปลว่า แผ่นกระดาษ แผ่นเล็กๆ ยาวๆ หรือจะแปลให้เข้าใจง่ายขึ้น คือกระดาษโน้ต ส่วนคำว่า ซี แปลว่า บทกลอน เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า บทกลอนบนแผ่นกระดาษแผ่นเล็กๆ เพื่อให้จดจำได้

     สิ่งหนึ่งที่คู่กับเซียมซี คือติ้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะทำ จากไม้ไผ่บางๆ แต่ปัจจุบันได้มีการทำเป็นพลาสติก และเขียนหมายเลขกำกับไว้ ประมาณ ๙-๓๖ หมายเลข รวมกันในกระบอกไม้ไผ่ ที่เรียกว่า กระบอกติ้ว การเสี่ยงเซียมซี คือการสั่นกระบอกติ้วเซียมซี ให้ไม้เซียมซีหลุดออกมา ๑ อัน ปรากฏหมายเลขใด ก็อ่านใบเซียมซีนั้น แล้วก็ไปหยิบเอาความหมายของ ใบเซียมซี เพื่อดูว่าจะมีความหมายดีร้ายสักประการใด

เซียมซีมีกี่ใบ แล้วทำไมต้องมีจำนวนเท่านั้น
     เซียมซีส่วนใหญ่จะมี ๒๘ ใบ สำหรับเหตุผลที่เซียมซีส่วนใหญ่จะมี ๒๘ ใบนั้น อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน บอกว่า น่าจะมาจากจำนวนทิศทั้ง ๔ ซึ่งมีดาวบริวารอยู่ ๗ กลุ่ม เมื่อรวมแล้วได้ ๒๘ แต่ไม่ได้หมายความว่าเซียมซีจะต้องมี ๒๘ ใบเสมอไป เช่น ศาลเจ้าบริเวณใกล้ๆ กับวัดกัลยาวรมหาวิหาร ซึ่งถือเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ มี ๖๐ ใบ ในขณะที่ศาลเจ้าพ่อกวนอูบริเวณเชิงสะพานตากสิน (หรือสะพานพุทธ) ซึ่งเคยเป็นที่พักของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีจำนวนใบเซียมซีมากถึง ๕๐ ใบ

เซียมซีมีความเป็นมาอย่างไร
     การเสี่ยงเซียมซี เป็นโหราศาสตร์ อันเก่าแก่แขนงหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจาก ประเทศจีนไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี ราวในสมัยราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. ๑๕๐๒-๑๘๒๒) ส่วนการเผยแพร่ในประเทศไทยนั้น ไม่มีปรากฏหลักฐานบันทึกไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มีการสันนิษฐานว่า น่าจะเข้ามาพร้อมๆ กับกระถางธูปจีนในสมัยอยุธยา ส่วนจะมีการใช้เซียมซีเพื่อ การเสี่ยงทายด้วยหรือไม่นั้น ยังไม่เด่นชัด ในรัตนโกสินทร์ได้ค้นพบหลักฐานแห่งแรก ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ที่วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี โดยนายเปลี่ยน แซ่ซ้อง ผู้แปลเซียมซีภาษาจีนเป็นภาษาไทย

     ความเชื่อของคำนายในเซียมซีนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นๆ บางคนก็เชื่ออย่างสนิทใจ บางคนเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ในขณะที่บางคนไม่เชื่อเลย แต่คำทำนายในเซียมซีนั้น ทุกใบแฝงด้วยปริศนาธรรม ทั้งที่บอกตรงๆ และบอกแบบอ้อมๆ เนื้อหาในเซียมซีนั้น ในใบเดียวกันจะมีคำทำนายทั้งดีและไม่ดีปนกัน โชคดีเรื่องสุขภาพแต่จะไม่มีโชคลาภ จะให้กำลังใจ เพราะคนเมื่อมีความทุกข์มาก ก็จะไปเสี่ยงเซียมซี แรงอธิษฐานก็มาก

     จริงๆ แล้วคำทำนายในเซียมซีไม่ได้สอนให้คนงมงาย แต่เป็นการเสี่ยงทาย เพื่อปลูกฝังกำลังใจให้กล้าแข็งขึ้น รวมทั้งเป็นสติเครื่องเตือนใจไม่ให้ประมาท ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเครื่องเตือนสติได้ดียิ่งกว่าคำพูด ของผู้รู้เสียอีก" นี่คือคำยืนยันของ นายธรรมจักร สิงห์ทอง บรรณาธิการสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง (ปธ.๙)

     สำหรับความแม่น และคำทำนายที่โดนใจเรื่องการเสี่ยงเซียมซีนั้น อาจารย์ ลักษณ์ เรขานิเทศ เลขาธิการสถาบันพยากรณ์ศาสตร์ บอกว่า การจะระบุว่าที่ใดขลังหรือไม่นั้น ไม่สามารถบอกได้ แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งคนนิยม ไปเสี่ยงเซียมซี อยู่หลายแห่ง เช่น ศาลกรมหลวงชุมพรฯ บริเวณพณิชยการพระนคร

     ส่วนขั้นตอนการเสี่ยงเซียมซีนั้น ต้องเริ่มต้นจากการมากราบไหว้สถานที่ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น องค์พระพุทธรูป หรือเจ้าพ่อ เจ้าแม่ประจำศาลเจ้าในที่ต่างๆ และเมื่อกราบไหว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการเสี่ยงทายด้วยเซียมซี

การเสี่ยงทายต้องประกอบด้วย
1.ต้องมีเจตนาที่บริสุทธิ์ มีความปรารถนา มีความมุ่งมั่น หรือมีความตั้งใจ ที่ต้องการทราบเรื่องราวความเป็นไป ในอนาคตของตน

2.การตั้งจิตเสี่ยง อธิษฐาน เมื่อได้กราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในสถานที่นั้นแล้ว หากต้องการเสี่ยงเซียมซี ก็ขอให้ตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์

3.เมื่อกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยการส่งจิต ระลึกถึง แสดงความเคารพด้วยดอกไม้ธูปเทียนแล้ว หลังจากนั้น ก็ให้ขอพรต่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บางสถานที่จะมี การเสี่ยงเซียมซี โดยเมื่อเสี่ยงแล้วจะมีการเสี่ยงด้วยไม้ปวย ไม้ปวย เป็นอุปกรณ์ สำหรับการเสี่ยงทาย สรุปตัดสินจากการเสี่ยงใบเซียมซี ไม้ปวยประกอบด้วย ไม้รูปโค้งเสี้ยวพระจันทร์ ๒ อันประกบกันได้ คล้ายๆ ไม้กรับ เรียกว่า ไม้คว่ำ ไม้หงาย

ไม้ปวย     เมื่อเสี่ยงได้ตู้เซียมซีขึ้นมาหนึ่งอัน ก็ต้องเสี่ยงไม้ปวย (จะพบในศาลเจ้าบางแห่งเท่านั้น) เพื่อเสี่ยงทายว่าตู้เซียมซีนั้นเป็นของตน หรือเป็นจริงตามนั้นใช่หรือไม่ กล่าวคือ เมื่อหยิบไม้ปวยขึ้นมาเสี่ยง ให้อธิษฐานจิตว่า "ตู้เซียมซีที่เสี่ยงมา เขย่าแล้ว ใช่ของตนหรือไม่ จะประสบความสำเร็จตามใบเซียมซีนี้หรือไม่"

     จากนั้นก็โยนไม้ปวยไปข้างหน้า เฉียงมาทางด้านขวามือ ผลของการโยนไม้ปวย จะแสดงออกมาใน ๓ ลักษณะคือ ประการแรก ไม้ปวยคว่ำทั้ง ๒ อัน ประการที่สอง ไม้ปวยหงายทั้ง ๒ อัน ประการที่สาม คว่ำอันหนึ่ง หงายอันหนึ่ง

     คำอธิบายการเสี่ยงไม้ปวยคว่ำ ไม้ปวยหงาย ถ้าไม้นั้นหงายทั้ง ๒ หมายความว่า ฟรีเปล่า ผู้เสี่ยงทายต้องเขย่าเซียมซีใหม่อีก เมื่อได้หมายเลขใดก็โยนไม้คู่ คือ ไม้ปวยอีก ถ้าไม้นั้นคว่ำทั้ง ๒ ก็หมายความว่า ยังไม่ใช่ ยังไม่ได้ หรือว่าไม่ใช่เลขของผู้เสี่ยงทาย ผู้เสี่ยงทายต้องเขย่าอีก คราวนี้ได้เลขแล้ว เสี่ยงไม้คู่อีก ถ้าไม้คว่ำอันหนึ่ง หงายอันหนึ่ง หมายความว่า ได้แล้ว คือเลขเซียมซีของผู้เสี่ยงทาย ก็ตรวจดูคำทำนายตามใบเซียมซี ให้หมายความอย่างไรก็คือ คำทำนายที่แม่นแน่แล้ว สรุปก็คือไม้ปวยจะต้องคว่่ำอันหนึ่ง และหงายอันหนึ่ง





















     “พระเบญจภาคี” หมายถึง พระเครื่องชุดหนึ่งประกอบด้วยพระจำนวน ๕ องค์ โดยมี พระสมเด็จวัดระฆัง โฆสิตาราม เป็นองค์ประธาน พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก, พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี, พระลีลา จังหวัดกำแพงเพชร และพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน แต่เนื่องจากพระกำแพงลีลาหาได้ยากมากขึ้น จึงได้พระกำแพงซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชรมาแทน ผู้ที่จัดพระชุดเบญจภาคีคือ “ตรียัมปวาย” นี้เองที่ได้จัดทำทำเนียบชุดพระเครื่อง “เบญจภาคี” ขึ้นในปี ๒๔๙๕ โดยเมื่อแรกเริ่มยังคงเป็นเพียง “ไตรภาคี” คือมีเพียง ๓ องค์เท่านั้น อันประกอบด้วย พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นองค์ประธาน ซ้าย-ขวา เป็นพระนางพญา (พิษณุโลก) และพระรอด (ลำพูน) หลังจากนั้นไม่นานจึงได้ผนวก “พระซุ้มกอ” (กำแพงเพชร) และ “พระผงสุพรรณ” (สุพรรณบุรี)

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดระฆัง
พระรอดวัดมหาวัน-พิมพ์เล็ก
พระรอดวัดมหาวัน
พระซุ้มกอ
พระซุ้มกอ
พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่
พระผงสุพรรณ
พระนางพญา-พิมพ์เข่าโค้ง
พระนางพญา
พระพิฆเนศ

พระพิฆเนศ

คาถาบูชาพระพิฆเนศ พระพิฆเนศปางต่างๆ พระพิฆเนศ »






 
:: อ่านข่าว
:: รวมของฟรี
:: ซาบซ่าส์
:: ลิงค์แนะนำ

Copyright www.zabzaa.com (ซาบซ่าส์ดอทคอม)
Website Allright Reserved
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2550
ทะเบียนพาณิชย์เลขที่ 0577314802616