จะดีมั้ยถ้าลดโซเดียมในขนมถุงลง

 

จะดีมั้ยถ้าลดโซเดียมในขนมถุงลง

เราต่างก็ รู้กันดีว่า ในมันฝรั่งทอดหรือ potato chips แต่ละยี่ห้อ มีเกลืออยู่มาก และเกลือก็มีโซเดียม หากรับประทานเข้าไปมากๆจะส่งผลเสียต่อร่างกาย  แม้เราจะรู้สึกว่ามันฝรั่งทอดจะได้รสชาดที่ดีขึ้นหากมีเกลือผสมอยู่

ใน ขณะที่ทีมวิจัยและพัฒนาของบริษัท Pepsico ซึ่งเป็นเจ้าของ Frito-lay กำลังลดปริมาณเกลือในขนมถุงประเภทมันฝรั่งทอดเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆในการเปลี่ยนรูปร่างของก้อนเกลือให้มีพื้นผิวมากยิ่งขึ้น

1 ใน 5 ของเกลือบนมันฝรั่งทอดจะละลายที่ลิ้น ส่วนที่เหลือเราจะกลืนลงไป และทาง Pepsico เองก็เชื่อมั่นว่าจะลดปริมาณโซเดียมเหลือ 1 ใน 4 ของปริมาณเดิม

ใน งานวิจัยชิ้นหนึ่งก่อนหน้านี้ ผลปรากฎวว่า เกลือส่วนใหญ่ในขนม ไม่มีแม้เวลาที่จะละลายด้วยน้ำลายเพราะเราจะกลืนลงไปเสียก่อนอย่างรวดเร็ว Mehmood Khan กล่าว

การบริโภคขนมถุง ควรบริโภคในขนาดที่พอเหมาะ เพื่อไม่เกิดผลร้ายต่อร่างกาย และเราหวังว่า ในอนาคตจะมีการลดปริมาณโซเดียมลงได้จริงๆ


โซเดียมคือ เกลือแร่ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุม ความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงการดูดซึมสารอาหาร ช่วยในการฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย และช่วยในการย่อยอาหาร

แต่เมื่อปริมาณ โซเดียมสูงก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งนับวันก็ยิ่งเป็นปัญหามากขึ้นตามพฤติกรรมการบริโภค และรูปแบบของอาหาร ขนม รวมทั้งเครื่องปรุงต่างๆ เนื่องจากโซเดียมไม่หมายถึงเกลือที่เป็นโซเดียมคลอไรด์เท่านั้น แต่หมายถึงกลุ่มโซเดียมอื่นๆที่นำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารและขนม ซึ่งมักเป็นกลุ่มโซเดียมที่ซ่อนเร้นในปริมาณสูง

 
ปริมาณโซเดียมที่ต้อง การต่อวันของแต่ละคนแตกต่างกัน ตามอายุ และโรคประจำตัวที่มีข้อห้าม เช่น เด็กทารกควรจะได้รับ 200-400 มิลลิกรัม ซึ่งเท่ากับปริมาณโซเดียมในนมแม่ เด็กวัยประถม 320-1175 มิลลิกรัม เยาวชนและผู้ใหญ่ทั่วไป 400-1600 มิลลิกรัม แต่หากอายุมากขึ้นปริมาณจะลดลง ส่วนโรคประจำตัวที่ต้องระมัดระวังปริมาณโซเดียมคือ โรคความดันโลหิตสูงที่ถือเป็นเพชรฆาตเงียบ โรคหัวใจ โรคใต และโรคอ้วน

โซเดียมมีในกลุ่ม อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป คือ อาหารกระป๋องทุกชนิด ผลไม้กระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม

โซเดียมใน อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่ โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปต่างๆ ทั้งชนิดก้อนและชนิดซอง ซึ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่วางขายอยู่ในปัจจุบันมีโซเดียมโดยเฉลี่ยไม่ต่ำ กว่าครึ่งช้อนชา (ประมาณ 960 มิลลิกรัม) ต่อภาชนะบรรจุ

โซเดียมใน เครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสที่มีรสเค็มเช่น ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ำบูดู กะปิ ปลาร้า ปลาเจ่า เต้าหู้ยี้ ซอสหอยนางรม ซอสปรุงรสที่ไม่มีรส เค็มหรือเค็มน้อย เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก และน้ำจิ้มต่างๆ รวมทั้งโซเดียมในอาหารฟาสฟู๊ดส์ เช่น เฟรสฟรายด์ แฮมเบอเกอร์

โซเดียมใน ผงชูรส ผงปรุงรสต่างๆ ซึ่งเป็นสารปรุงรสอาหารที่แม้ไม่มีรสเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย นิยมใส่ปรุงรสอาหาร ทั้งอาหารในบ้าน อาหารถุง อาหารกล่อง อาหารจานด่วน อาหารกล่อง อาหารพร้อมรับประทาน และอาหารสำเร็จรูปสารพัดชนิด โซเดียมในอาหารฟาสฟู๊ดส์ เช่น เฟรสฟรายด์ แฮมเบอเกอร์

โซเดียมใน ขนมกรุบกรอบ ขนมขบเคี้ยว สาหร่ายปรุงรส ปลาเส้นปรุงรส ซึ่งอาหารเหล่านี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก ที่น่าเป็นห่วงมากคือ เป็นขนมที่มีการโฆษณาทุกรูปแบบเพื่อให้เด็กๆชื่นชอบ จึงก่อปัญหาให้กับสุขภาพเด็กไทยและเด็กทั่วโลก

โซเดียมใน ขนม เบเกอรี่ ต่างๆ ที่ มีการเติมผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมปัง และแป้งสำเร็จรูป(ผสมผงฟูไว้แล้ว) ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มขนมที่ใส่ผงฟูมากชนิดขึ้น ตามยุคสมัยที่มีการคิดค้นการทำขนมรูปแบบใหม่ๆ โซเดียมในน้ำ ผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือบรรจุกระป๋อง มีการเติมสารกันบูด หรือโซเดียมเบนโซเอต ทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้ มีโซเดียมสูง หากชื่นชอบน้ำผลไม้ควรดื่มแบบคั้นสด

นอกจากที่กล่าวมา แล้ว โซเดียมอีกกลุ่มที่มักใส่ในอาหารแปรรูป คือ ดินประสิว ซึ่งเป็นกลุ่มโซเดียมไนเตรตและโซเดียมไนไตรต์ อาหารกลุ่มนี้ได้แก่ ไส้กรอก เบคอน แฮม แหนม เป็นต้น ซึ่งแม้จะอนุญาตให้ใช้ได้แต่ต้องไม่เกินที่กฏหมายกำหนด ซึ่งหากใช้สารประเภทนี้เกิน ปริมาณที่กำหนดไว้ จะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย โดยจะเกิดอาการตามปริมาณของสารที่ได้รับ

แล้วจะทราบได้ อย่างไรว่า อาหารแต่ละชนิดมีปริมาณเท่าใด ด้านหนึ่งจะทราบจากฉลาก ที่เขียนส่วนประกอบไว้ อีกด้านหนึ่งก็ต้องใช้วิธีหลีกเลี่ยงกลุ่ม อาหารที่มีโซเดียมสูงซึ่งมักเป็นอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแปรรูป หลีกเลี่ยงการปรุงแต่ง อาหารด้วยสารปรุงรสต่างๆมากเกินไป เพราะเป็นการเพิ่มปริมาณโซเดียมซ้ำซ้อน จนกลายเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูง โดยเฉพาะเด็กๆต้องระมัดระวังอย่าให้เด็กกิน สำเร็จรูปมากหรือบ่อยครั้ง รวมทั้งลดปริมาณขนมขบเคี้ยว และขนมปรุงรสทั้งหลาย

ส่วนพืช ผักผลไม้เนื้อสัตว์ ก็มีโซเดียมมีอยู่ใน อาหารตามธรรมชาติมากน้อยต่างกัน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ จะมีโซเดียมสูง แต่ ผลไม้ทุกชนิด ผัก ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง และเนื้อปลา มีปริมาณโซเดียมต่ำ ดังนั้นหากเราไม่ยึดติดกับ การปรุงแต่งรสชาติ จนลืมรสชาติที่แท้จริงของอาหารธรรมชาติ เราก็สามารถลดปริมาณโซเดียมได้ เพราะอาหารสดเหล่านี้มีปริมาณโซเดียมที่เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย อร่อยได้โดยไม่ต้องปรุงแต่งรสมากมาย

ถึงเวลาแล้วที่เรา จะหันมาดูแลสุขภาพ ด้วยการลดปริมาณโซเดียม อย่าให้ความหลงใหลในอาหารปรุงแต่งมานำทางในอาหารการกิน อย่าหลงใหลวิธีการใส่เครื่องปรุงรส ชนิดแล้วชนิดเล่าในอาหารโดยลืมรสชาติที่แท้จริงของอาหาร แกงผักควรจะได้รสของผัก ไม่ใช่ได้รสของผงชูรส ซุปผักควรได้รับรสชาติหวานอร่อยของผัก ไม่ใช่น้ำผงชูรส ผัดผักควรได้รับรสชาติของผักไม่ใช่รสชาติของผงปรุงรสหรือซอสซีอิ้วสารพัด เป็นรสชาติอร่อยตามธรรมชาติและให้สุขภาพดีด้วย





 




 

Bookmark and Share


:: ผู้หญิงมาใหม่























 
:: อ่านข่าว
:: รวมของฟรี
:: ซาบซ่าส์
:: ลิงค์แนะนำ

(ซาบซ่าส์ดอทคอม)
Website Allright Reserved
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2550
ทะเบียนพาณิชย์เลขที่ 0577314802616
x [close]
x [close]