การดูแลผิวพรรณด้วยสมุนไพร

สมุนไพรบำรุงผิวหน้า และผิวกาย

 

1. ว่านหางจระเข้ (Aloe indica Royle)

 

คุณค่าของว่านหางจระเข้มีมากมาย นอกจากใช้รักษาโรคแล้ว ยังใช้บำรุงผิว บำรุงเส้นผมได้ด้วย ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีแชมพูสระผม และเครื่องสำอางหลายอย่าง ที่ใช้ว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ และกำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เนื่องจากว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติสามารถช่วยให้กระบวนการเมตะโบลิซึม ทำงานได้เป็นปกติ ลดการติดเชื้อ สลายพิษของเชื้อโรค กระตุ้นการเกิดใหม่ ของเนื้อเยื่อส่วนที่ชำรุด ฉะนั้น ว่านหางจระเข้จึงถูกนำมาใช้ เพื่อบำรุงผิวพรรณ ผู้ที่ใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวพรรณอยู่เป็นประจำ จะรู้สึกได้ชัดว่า ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วย ให้ผิวพรรณผุดผ่อง สดชื่น มีน้ำมีนวล และยังสามารถขจัดสิว และลบรอยจุดด่างดำได้ด้วย
การใช้ว่านหางจระเข้ เพื่อบำรุงผิว โดยปอกเปลือกออก ใช้แต่เมือกวุ้นสีขาวใส ที่อยู่ภายใน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแพ้ ก่อนใช้ควรตรวจสอบว่า ตนเองจะเกิดอาการแพ้หรือไม่ โดยใช้น้ำที่ได้จากวุ้นสีขาว ของว่านหางจระเข้ ทาตรงบริเวณโคนหู แล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง แสดงว่าไม่แพ้ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผิวหน้าอีกต่อไป ถ้าไม่มีอาการแพ้ ก็สามารถใช้ได้ตลอด แต่บางคนก็จะเห็นผลได้เหมือนกัน เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณหัวสิว จะทำให้หัวสิวแห้งเร็ว
นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังสามารถลดความแห้งกร้าน และลดความมันของผิวหน้าได้ โดยคนที่มีผิวมัน ก็จะช่วยให้ลดความมัน คนที่มีผิวหน้าแห้ง ก็ยังรักษาความชุ่มชื่นของผิวไว้ได้

 

2. งา (Sesamum indicum Linn. S. orientle. L)

 

เป็นพืชล้มลุก ให้เมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดงามีทั้งสีดำ และสีขาว ในเมล็ดงามีน้ำมันอยู่ ประมาณ 45-54% น้ำมันงามีกลิ่นหอมน่ารับประทาน วิธีใช้ โดยการนำเอาเมล็ดงาสด มาบีบน้ำมันงาออก โดยไม่ผ่านความร้อน ใช้ทาผิวหนัง เพื่อบำรุงผิวพรรณ ให้ผุดผ่อง ช่วนประทินผิวให้นุ่มนวล ไม่หยาบกร้าน

 

3. แตงกวา (Cucumis sativas Linn.)

 

จะมีวิตามินสูง ในผลแตงกวายังมีเอ็นไซม์ cryssin ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนได้ เอ็นไซม์ชนิดนี้ จะช่วยย่อยผิวหนังที่หยาบกร้าน ให้หลุดออกไป เพื่อให้ผิวใหม่ที่อ่อนนุ่ม เกิดขึ้นมาแทนที่ บางคนใช้แตงกวาสด ผ่าเป็นชิ้นบางๆ วางบนใบหน้าที่ล้างสะอาด แทนน้ำแตงกวา ปัจจุบัน มีน้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า ครีมทาตัว เพื่อช้วยให้ผิวไม่หยาบกร้าน และช่วยสมานผิว แตงกวาเป็นสมุนไพร ที่หาง่าย มีประโยชน์ ราคาถูก ใช้ติดต่อกับเป็นประจำ จะทำให้สวนสดชื่น มีน้ำมีนวล

 

4. มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.)

 

ในมะเขือเทศ จะมีสาร Curotenoid และมีวิตามินหลายชนิด น้ำจากผลมะเขือเทศสุก จะมีสาร licopersioin ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา และแบคทีเรีย และน้ำมะเขือเทศสด นำมาพอกหน้า จะรักษาสิวสมานผิวหน้าให้เต่งตึง หรืออาจจะฝานบางๆ แปะลงบนผิวหน้าก็ได้

 

5. ขมิ้นชัน (Curcuma Longa Linn.)

 

ในขมิ้น จะมีสาร Curcumin และมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะ ขมิ้นมีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราหลายชนิด ใช้ทาผิวที่มีผดผื่นคัน ผงขมิ้นใช้ทาตัว เพื่อให้มีสีเหลืองทอง ใช้บำรุงผิว และช่วยฆ่าเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังบางชนิด ได้อีกด้วย

 

6. น้ำผึ้ง (Apis dorsata)

 

ได้จากผึ้ง ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส ฟรุคโตส ขี้ผึ้ง อัลบูมินอยด์ ละอองเกสรดอกไม้ และฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวนเล็กน้อย น้ำผึ้งใช้เป็นส่วนประกอบ ของเครื่องสำอาง ใช้พอกหน้า ทำให้ผิวหน้าชุ่มชื่น เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลขึ้น น้ำผึ้งยังมีคุณสมบัติช่วยสมานผิว น้ำผึ้ง เป็นเครื่องสำอางจากธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์สูง และหาง่าย นอกจากนี้ ยังใช้น้ำผึ้งบำรุงผม ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะช่วยบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของเส้นผม

 

7. มะขามเปียก (Tamarindus indica Linn)

 

มะขามเปียกมีประวัติการใช้มายาวนาน ช่วยชำระสิ่งสกปรกจากผิวหนัง เพราะฤทธิ์ที่เป็นกรดอ่อนๆ ในมะขาม จะช่วยขจัดสิ่งสกปรกจากผิวหนังได้ดี ปัจจุบัน ได้มีหญิงไทยจำนวนมาก ใช้มะขามเปียกผสมน้ำอุ่น และนมสดให้เข้ากันดี พอกบริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยด้าน เช่น ตาตุ่ม ข้อศอก ฝ่ามือ ที่มีรอยกร้านดำ และบริเวณรักแร้ ขาหนีบ เพื่อให้ผิวหนังที่เป็นรอยดำจางลง ทำให้ผิวขาวนุ่มนวลขึ้น และนมสดจะช่วยบำรุงผิว ให้นุ่มได้

สมุนไพรไทยน่ารู้

  1. ลูกใต้ใบ ตามภูมิปัญญาไทยแต่ดั้งเดิม ใช้รักษาอาการไข้ รักษาโรคตับ จากการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่า ใต้ใบไม่มีพิษต่อตับ นอกจากนี้ ยังป้องกันพิษต่อตับ ของพาราเซตตามอล ในสัตว์ทดลอง ซึ่งจะต้องศึกษาวิจัยในคนต่อไป
  2. ขี้เหล็ก ผักพื้นบ้านไทยคลายเครียด พบสารสำคัญคือ บาราคอล ผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่า สามารถทำให้หลั่งสารสำคัญ ชื่อ 5-HT ในคนปกติ ที่มีความเครียด จะหลั่งสารชนิดนี้น้อย ซึ่งคนที่กินแกงขี้เหล็ก จะทำให้หลับสบาย ถ่ายสะดวก ปัจจุบัน มีการใช้ขี้เหล็ก มาทำเป็นยานอนหลับกันมาก ข้อควรระวัง การนำขี้เหล็ก มาใส่แคปซูลโดยตรง ไม่เหมือนที่คนโบราณ ที่กินเป็นอาหาร โดยการต้ม และนำมาแกงนั้น ก็อาจจะทำให้มีพิษต่อตับได้ ดังนั้น ควรกินแบบอาหาร โดยการต้มน้ำทิ้งก่อนนำมาแกง และไม่ควรกินติดต่อกันทุกวัน ซึ่งผลการวิจัยนี้ จะมีประโยชน์ในการทำยา อย่างปลอดภัย ต่อประชาชนต่อไป
  3. โลดทะนงแดง ต้านพิษงูเห่าในสัตว์ทดลองได้ สมุนไพรโลดทะนงแดง ในสมัยโบราณ มีการนำมาใช้กับผู้ที่ถูกงูพิษกัด แต่เนื่องจากยังขาดข้อมูล ที่เป็นวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน เพราะการได้รับพิษงูนั้น เป็นอันตรายเกินไป และเป็นการเสี่ยงที่จะแนะนำให้ใช้ในคน แต่จากการทดลองพบว่า สมุนไพรโลดทะนงแดงสามารถยืดอายุ การตายของหนู ที่ได้รับพิษงูเห่าได้ แต่มิได้หมายถึงว่า หนูรอดตาย ผลการวิจัยนี้ ยืนยันว่า สมุนไพรชนิดนี้ มีฤทธิ์ต่อพิษงูเห่า ข้อแนะนำในการนำมาใช้ กับคน ซึ่งเป็นการเสี่ยงมาก จึงขอแนะนำให้รักษาแบบแผนปัจจุบัน คือ การรับเซรุ่ม หรือการใช้กรณีผสมผสาน หรือในภาวะเร่งด่วน เช่น ช่วงระหว่างการเดินทางในชนบท พื้นที่ที่ห่างไกลโรงพยาบาล อาจจะนำสมุนไพรชนิดนี้ มาใช้กับผู้ป่วยได้ แต่ต้องแนะนำให้รีบไปโรงพยาบาล เพื่อรับเซรุ่ม เพราะพิษงู เป็นอันตรายต่อระบบประสาท ระบบการหายใจ อาจเสียชีวิตได้ ถ้ารักษาไม่ถูกวิธี ซึ่งในการศึกษาวิจัย จะต้องมีการพัฒนาก้าวต่อไป
  4. สมุนไพรไทย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบัน พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทย แตกต่างไปจากเดิมมาก ทำให้ได้รับสารอนุมูลอิสระ เข้าในร่างกายมากเกินความจำเป็น เช่น ผู้ที่ชอบกินของปิ้ง ย่าง เผา กินผักผลไม้ที่มีสารพิษ ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ได้นำเอาสมุนไพร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ใบช้าพลู สีเสียด กานพลู ชาแห้ง ใบชาสด เปลือกต้นสะเดา ชาจีน หม่อน เมล็ดมะขาม สมอพิเภก เป็นต้น ดังนั้น ข้อแนะนำในการรับประทานอาหาร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ ผักพื้นบ้านไทยหาง่าย สามารถป้องกันโรคได้ คนไทยควรกินผักผลไม้มากๆ ทุกๆ วัน เพื่อให้ร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระ และควรกินผ้กพื้นบ้านหลากหลาย ที่มีอยู่ตามท้องถิ่น และตามฤดูกาล
  5. หญ้าหวาน ผลการวิจัยหญ้าหวาน พบว่า สารสะกัดอย่างหยาบ ของหญ้าหวาน ไม่มีผลต่อการเป็นหมัน ทั้งในระยะเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง และไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ของสมรรถภาพ ตับ ไต และค่าทางโลหิตวิทยา ในแง่ของการส่งเสริมพัฒนาสมุนไพร กอรปกับประเทศไทย กำลังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเร่งดำเนินการ เพื่อนำหญ้าหวาน และอนุญาตให้ใช้หญ้าหวาน แทนสารที่ให้ความหวาน สังเคราะห์จากต่างประเทศ จะทำให้ประหยัดเงินมิให้รั่วไหล ในต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
  6. หญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมมาก หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ ทั้งนิ่วด่าง ซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อน ที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรด ซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้ จะไม่เป็นก้อน แต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช้วยป้องกันไม่ให้แคลเซียม ตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมว ไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดังนั้น นิ้วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ ฤทธิ์ขับปัสสสาวะ ของหญ้าหนวดแมว จะช่วยกันเม็ดนิ่วเล็กๆ ให้หลุดออกมา





 




 

Bookmark and Share


:: ผู้หญิงมาใหม่























 
:: อ่านข่าว
:: รวมของฟรี
:: ซาบซ่าส์
:: ลิงค์แนะนำ

(ซาบซ่าส์ดอทคอม)
Website Allright Reserved
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2550
ทะเบียนพาณิชย์เลขที่ 0577314802616
x [close]
x [close]