โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะอาหาร อาการโรคกระเพาะ สาเหตุ และโรคแทรกซ้อน

โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง ภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะ และลำไส้ ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก “gastritis” แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึก muscularis mucosa เรียก ulcer ถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก “gastric ulcer” ถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียก “duodenal ulcer” โรคกระเพาะสามารถพบได้ทุกวัย

สาเหตุของการเกิด โรคกระเพาะอาหาร มีหลากหลายสาเหตุ แต่เชื่อกันว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง

1.เชื่อโรค Helicobacter pylori เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี

2. สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก

2.1 กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์

2.2 การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง

2.3 ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มีคาเฟอีน จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก

2.4 การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก

2.5 การกินอาหารไม่เป็นเวลา

2.6 ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามาก จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

3. มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก

3.1 การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ

3.2 การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู

3.3 การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง

4.ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกระเพาะอาหาร

– ผู้ที่สูบบุหรี่

– ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์ประจำ

– ผู้ที่มีความเครียดเป็นประจำ

อาการโรคกระเพาะ

1. ปวดท้องลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ

1.1 ปวดท้องบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบๆ ร้อนๆ ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆ หายๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี

1.2 ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวดบางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหาร

2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน

3. อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่แผลกระเพาะอาหาร

3.1 อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น

3.2 ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ

3.3 ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร

อาการของโรคกระเพาะอาหารจะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีแผลใหญ่มากในกระเพราะอาหาร หรือลำไส้ บางรายปวดท้องมากแต่ไม่มีแผลเลยก็ได้

อาการอื่นที่พบได้

– น้ำหนักลด

– เบื่ออาหาร

– แน่นท้อง ท้องเฟ้อ

– คลื่นไส้ อาเจียน

ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์

1. ปวดท้องทันที ปวดเหมือนถูกมีดบาด ขยับตัวหรือหายใจแรงๆ จะทำให้ปวดเพิ่มมากขึ้น และปวดไม่หาย ซึ่งอาจจะเกิดจากกระเพาะอาหารทะลุ

2. อุจาระดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด เนื่องจากเลือดออกทางเดินอาหาร

3. แน่นท้อง อาเจียนบ่อย อาเจียนเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาจจะเกิดจากลำไส้อุดตัน

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

1. เลือดออกทางเดินอาหาร เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารกินลึกถึงหลอดเลือดทำให้มีเลือดออก ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือดสด หรือสีดำเหมือนน้ำโค้ก อุจาระจะมีสีดำเหนียว บางคนหากออกมากจะมีสีแดงอิฐ หากเลือดออกมากผู้ป่วยอาจจะมีความดันโลหิตต่ำและช้อคหมดสติ

2. กระเพาะทะลุ เนื่องจากแผลจะกินลึกจนทะลุเข้าช่องท้อง ผู้ป่วยจะปวดท้องอย่างเฉียบพลันปวดมาก หน้าท้องแข็ง เป็นภาวะรีบด่วนต้องรีบพบแพทย์

3. ลำไส้อุดตัน เนื่องจากเป็นแผลเรื้อรังจะทำให้เกิดผังพืดทำให้รูของลำไส้เล็กลงอาหารไม่สามารถผ่านไปได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาเจียน ไม่ผายลม ไม่ถ่ายอุจาระ อาเจียนเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะ

แนวทางการรับประทานอาหารที่จะลดกรดในกระเพาะและลดการไหลย้อนของกรด

1. ให้รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ และให้รับประทานอาหารว่างระหว่างมื้อ อย่าให้เกิดภาวะที่หิวมากหรืออิ่มมากเกินไป

2. รับประทานอาหารอย่างช้าๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด

3. ระหว่างรับประทานอย่าเคร่งเครียด

4. หลังรับประทานอาหารอย่าเพิ่งนอน ให้นั่งหรือเดินไปมา 1 ชั่วโมง

5. อย่ารับประทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมงเพราะอาหารมื้อนั้นจะทำให้กรดหลั่งออกมามาก

6. เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ

7. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะเขือเทศ น้ำมะนาว

8. อาหารแต่ละมื้อควรจะมีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม

9. ยาน้ำลดกรดควรรับประทานให้ถูกโดยรับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมงและหลังอาหาร 3 ชั่วโมงและก่อนนอน

10. ไม่ควรดื่มนมหรือครีมเพราะจะทำให้กรดหลั่งมาก

ขอขอบคุณ siamhealth.net