อุทยานแห่งชาติภูลังกา

สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าแดงที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่าชุกชุม เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลากสาย


อุทยานแห่งชาติภูลังกา  
อ. บ้านแพง จ. นครพนม
 

รายละเอียด
นายไมตรี อนุกูลเรืองกิตติ เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 กองอุทยานแห่งชาติได้บันทึกเสนอผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือลงวันที่ 27 เมษายน 2527 พร้อมส่งรายงานการสำรวจพื้นที่บริเวณป่าภูลังกา ท้องที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 55/2527 ลงวันที่ 12 มกราคม 2527 ที่ให้ออกไปสำรวจจัดตั้งเป็นวนอุทยาน โดยนายไมตรีฯ ได้รายงานเสนอความเห็นว่ามีสภาพที่เหมาะสม สมควรจัดตั้งเป็นวนอุทยานฝ่ายจัดการวนอุทยานได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากบริเวณป่าภูลังกาที่ทำการสำรวจมีพื้นที่ประมาณ 31,250 ไร่ หรือประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านแพง จังหวัด นครพนมและอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าแดงที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่าชุกชุม เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลากสาย และมีจุดเด่นทางธรรมชาติ เช่น หน้าผา ถ้ำ น้ำตก อยู่หลายแห่ง ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ ทั้งเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล ในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ไว้ในรูปแบบอุทยานแห่งชาติ จึงเห็นสมควรจัดตั้งบริเวณป่าภูลังกา ท้องที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนมและอำเภอเซกา จังหวัด หนองคายให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และเห็นสมควรพิจารณาจัดหาเจ้าหน้าที่ออกไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ เมื่อดำเนินการให้มีประสิทธิ์ภาพต่อไป

กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 642/2539 เรื่องให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการ ลงวันที่ 1 เมษายน 2539 ให้นายวัชรินทร์ ปิยะสุทธิ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูลังกา และสำรวจเพิ่มเติมเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติภูลังกา เพื่อกำหนดพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติตามนัยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูลังกา ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พื้นที่ประมาณ 44,031 ไร่ แต่ได้ถูกบุกรุกไปแล้วในพื้นที่งานคงเหลือพื้นที่โดยประมาณ 31,250 ไร่ หรือประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าหลายชนิด มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม และยังมีความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม มีอาณาเขตทิศเหนือจดห้วยทรายและห้วยซ่าน ท้องที่ตำบลดงบัง ตำบลโพธิหมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย ทิศใต้จดทางเกวียน ที่ทำกินราษฎร ท้องที่ตำบลโพนทอง ตำบลหนองซน อำเภอบ้านแพง นาทม จังหวัดนครพนม ทิศตะวันออก จดที่ทำกินราษฎร ท้องที่ตำบลนางัว ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ทิศตะวันตก จดที่ทำกินราษฎร ท้องที่ตำบลโพธิหมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย

กรมป่าไม้พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามเพื่อรักษาสมดุลทางธรรมชาติของระบบนิเวศน์ของพื้นที่ดังกล่าว ให้คงไว้ในรูปของอุทยานแห่งชาติ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชนสืบไป จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติตามนัยมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะเป็นภูเขาเรียงซ้อนกันตามแนวแม่น้ำโขง คือ ภูลังกาเหนือ ภูลังกากลาง และภูลังกาใต้ ทอดยาวตามแนวทิศเหนือกับทิศใต้และสลับด้วยเทือกเขาขนาดเล็กหลายลูกสลับซับซ้อนกันพร้อมทั้งทอดยาวตามแนวลำน้ำโขง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ที่จุดสูงสุดบนภูลังกาเหนือ สูง 563 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาหินทราย โดยแบ่งชั้นหินที่สำคัญออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดหินโคราช หมวดหินภูพาน และหมวดหินภูกระดึง ลักษณะดินจะเป็นดินทรายมีการพังทลายปานกลาง ภูลังกาเป็นต้นกำเนิดของห้วยต่างๆ หลายสาย เช่น ห้วยทรายเหนือ ห้วยซ่าน ห้วยยางนกเหาะ หวยลังกา ห้วยขาม และห้วยทรายใต้ ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับราษฎรในที่ราบที่อยู่ใกล้เคียงในการทำการเกษตรกรรม และไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม

ลักษณะภูมิอากาศ
ในพื้นที่มีสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วๆ ไปแล้วจะมีสภาพอากาศใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนสภาพอากาศบนยอดเขาจะมีลักษณะเป็นหิน ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัด ประมาณ 0-5 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25-36 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมีปริมาณน้ำมาก ประมาณ 1,860 มิลลิเมตรต่อปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกาปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ดอกไม้ป่าที่มีอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพาะกล้วยไม้ป่า รองเท้าแตะนารี เท่าที่พบในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นกล้วยไม้ตระกูลหวายและแดงอุบล นอกจากนั้นภูลังกายังเป็นแหล่งสมุนไพรต่างๆ และว่านนานาชนิด

ภูลังกาในปัจจุบันเท่าที่พบและได้ข้อมูลจากชาวบ้าน ปรากฏว่ายังมีสัตว์ป่าประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมูป่า ลิง อีเห็น เก้ง อยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้ง กระรอก กระแต บ่าง และนอกจากนี้ยังมีสัตว์ปีกจำพวกนกต่างๆ หลายชนิด ที่เด่นๆ อีกจำพวกหนึ่งคือ สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ กระท่าง และงู อีกหลายๆ ชนิด การเดินทาง ภูลังกาตั้งขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (นครพนม-บ้านแพง-หนองคาน) ประมาณ 105 กิโลเมตร ห่างจากก้าวจังหวัดหนองคาย 220 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอบ้านแพงประมาณ 6 กิโลเมตร การเดินทางไปภูลังกาสะดวกสบายทุกฤดูกาล ถ้าตั้งต้นจากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง คือ กรุงเทพ-อุดร-พังโคน-วานรนิวาส-เซกา-บ้านแพง หรือจะใช้เส้นทาง กรุงเทพ-สกลนคร-นครพนม-บ้านแพง
 





ข้อมูลรูปภาพร้านอาหาร เอื้อเฟื้อโดย www.aroys.com ศูนย์รวมอาหารในประเทศไทยบนอินเตอร์เน็ต

Bookmark and Share

อุทยานแห่งชาติภูลังกา :

Tags : อุทยานแห่งชาติภูลังกา อ. บ้านแพง  จ. นครพนม 

























อุทยานแห่งชาติภูลังกา สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าแดงที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่าชุกชุม เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลากสาย




 
:: อ่านข่าว
:: รวมของฟรี
:: ซาบซ่าส์
:: ลิงค์แนะนำ

Copyright www.zabzaa.com (ซาบซ่าส์ดอทคอม)
Website Allright Reserved
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2550
ทะเบียนพาณิชย์เลขที่ 0577314802616
x [close]
x [close]