วันเข้าพรรษา เข้าพรรษา ตักบาตร จำวัด ปุริมพรรษา ปัจฉิมพรรษา พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน


ความหมาย




          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน แก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่า ไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบ การจำพรรษา ให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทัน ในหมู่บ้าน หรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริก ตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้


วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา

          1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม

          2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน
ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง หรือราวเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม

 
ความเป็นมา


              แต่เดิมในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้า ไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัย ให้พระสงฆ์สาวก อยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทาง เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ ทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะศากยบุตร ไม่ยอมหยุดสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่พวกพ่อค้าและนักบวชในศาสนาอื่นๆ ต่างพากันหยุดสัญจรในช่วงฤดูฝนนี้ การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าชาวบ้าน ได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อย ที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย

          เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้พระภิกษุสงฆ์ เข้าอยู่ประจำที่ ตลอดระยะเวลา 3 เดือนแห่งฤดูฝน ภิกษุสงฆ์ที่อธิษฐานเข้าพรรษาแล้ว จะไปค้างแรมที่อื่นนอกเหนือจากอาวาส หรือที่อยู่ของตนไม่ได้แม้แต่คืนเดียว หากไปแล้วไม่สามารถกลับมา ในเวลาที่กำหนด คือก่อนรุ่งสว่าง ถือว่าพระภิกษุรูปนั้นขาดพรรษา

          แต่หากมีกรณีจำเป็น 4 ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถกระทำ สัตตาหกรณียะ คือ ไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา 7 วัน คือ

1. ไปรักษาพยาบาลพระภิกษุ หรือ บิดามารดาที่เจ็บป่วย
2. ไประงับไม่ให้พระภิกษุสึก
3. ไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น ไปหาอุปกรณ์มาซ่อมแซมวัด ซึ่งชำรุดในพรรษานั้น
4. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา

ในการอธิษฐานเข้าพรรษา ณ วัดหรือที่ใดที่หนึ่ง หากมีเหตุจำเป็น 5 ประการต่อไปนี้ ภิกษุไม่ต้องอาบัติ แม้จะไปอยู่ที่อื่น ได้แก่

1. ถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น วิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม
2. ชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป อนุญาตให้ไปกับเขาได้ หรือชาวบ้านแตกเป็น 2 ฝ่าย ให้ไปกับฝ่ายที่มีศรัทธาเลื่อมใส
3. ขาดแคลนอาหาร หรือยารักษาโรค
4. มีผู้เอาทรัพย์มาล่อ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้หนีไปเสียให้พ้นได้
5. ภิกษุสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามทำให้ภิกษุสงฆ์ในวัดแตกกัน ให้ไปเพื่อหาทางระงับได้







          โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝน สำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็น แก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษ ในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญ เนื่องในวันนี้สืบมา การที่พระภิกษุสงฆ์ ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำ เป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์

 
กิจของสงฆ์

          ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ

หรือว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ

แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้ (ว่า 3 ครั้ง)

          หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

 
การปฏิบัติตน




         การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชน มักจะจัดเครื่องสักการะเ ช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่ เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

           แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษา ชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียน และอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง


 
กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา




๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

 
ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ

1. เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา หากภิกษุสงฆ์เดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ อาจไปเหยียบต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย

2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน พระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน

3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์ จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชน เมื่อถึงวันออกพรรษา

4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตรหล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

 
นิราศเดือน

        ถึงเดือนแปดแดดอับพยับฝน

จวนจะบวชเป็นพระสละนาง

        ประดับพุ่มบุปผาพฤกษากระถาง

ตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์งามละมุน

        ต้นไม้ทองเสาธงหงส์ขี้ผึ้ง 

อุณรุทยุดกินนรชะอ้อนพริ้ง

ฤดูดลพระวษาเข้ามาขวาง

อยู่เหินห่างเห็นกันเมื่อวันบุญ

รูปแรดช้างโคควายขายกันวุ่น

ต้นพิกุลลิ้นจี่ดูดีจริง

คู่ละสลึงเขาขายพวกชายหญิง

มีทุกสิ่งซื้อมาบูชาพระ





วันสำคัญอื่นๆ
- วันลอยกระทง
- วันพ่อแห่งชาติ
- วันคริสต์มาส
- วันขึ้นปีใหม่
- วันครู
- วันวาเลนไทน์
- วันสงกรานต์
- วันสุนทรภู่





กลอน , เกมส์ , ดูดวง , อาหารเพื่อสุขภาพ , แชท , ฟังวิทยุออนไลน์ , ดูทีวีออนไลน์ , เรื่องตลก , เรื่องผี , ตัวอย่างหนัง , หาเพื่อน , มุม msn , วันสำคัญ , รวมของฟรี , อีการ์ด , อ่านข่าว , มือถือ , ทำนายฝัน , วัดความเร็วเน็ต , รถยนต์ , วอลล์เปเปอร์ , รูปการ์ตูน , เซียมซี , ชื่อมงคล , เนื้อเพลง , คอมพิวเตอร์ , อินเตอร์เน็ต , จัดอันดับเว็บไซต์ , เที่ยวเชียงราย , ปรับขนาดรูป , พยากรณ์อากาศ , ราคาน้ำมัน , ราคาก๊าซหุงต้ม , Hi5 , ผู้หญิง , ท่องเที่ยว , พระเครื่อง , แปลศัพท์ , โปรโมทเว็บฟรี
ลิงค์แนะนำ






- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Copyright www.zabzaa.com (ซาบซ่าส์ดอทคอม)