ความหมายตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐


ความเป็นมา

          นายอารักษ์ สังหิตกุล อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และโปรดเกล้าตราสัญลักษณ์ 80 พรรษาแล้ว โดยเลือกแบบที่ 12 ของนายสุเมธ พุฒพวง นักวิชาการช่างศิลป์ 7 ว. ช่างสิบหมู่ ของกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ ตราสัญลักษณ์ 80 พรรษา ซึ่งการออกแบบได้ใช้ตราสัญลักษณ์ มีพระราชลัญจกร รัชกาลที่ 9 หมายถึง แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มีพระมหาพิชัยมงกุฎ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร และพระเศวตฉัตร ที่หมายถึงเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ ของพระมหากษัตริย์ ด้านล่างมีเลขไทย 80 และเพชร 80 เม็ด ที่หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พร้อมแถบแพรสีชมพู หมายถึงสีอายุตามโหราศาสตร์ทักษาพยากรณ์ ตรงกับวันอังคารของพระองค์ และบอกชื่อตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงให้เขียนดอกพิกุลทอง 5 ดอก ดอกพิกุลเงิน 4 ดอก เพิ่มเติมที่แท่นแปดเหลี่ยมรองรับพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ที่มีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์

ความหมายตราสัญลักษณ์

           อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. สีเหลืองนวลทอง อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ ขลิบรอบตัวอักษรด้วยสีทองบนพื้นสีน้ำเงินเจือทอง อันเป็นสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้อมด้วยเพชรอันเป็นเอกแห่งรัตนะ หมายว่า เหล่านักปราชญ์ ราชกวีสำคัญ อีกบรรดาช่างอันมีชื่อ พระยาช้างสำคัญ นางงาม เหล่าทแกล้วทหาร ข้าราชบริพาร อันยอดฝีมือในการปฎิบัติราชการอย่างสุจริตยิ่ง เหล่านี้เปรียบด้วยเพชรอันชื่อว่ารัตนะ แวดล้อมประดับพระเกียรติยศ แห่งพระมหากษัตริยาธิราชพระองค์นั้น อันเหนือยิ่งกว่าเพชรอันได้ชื่อว่ารัตนะทั้งปวง คือพระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถิตเป็นเพชรอันยอดค่ายิ่งในดวงใจราฎร์ ทรงบำบัดทุกข์ผดุงสุข เป็นที่พึ่งอันเกษมสุขร่มเย็นกว่าปวงพระสกนิกร ซึ่งต่างเชื้อศาสนาในพระราชอาณาจักรของพระองค์

           งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นภาพพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมราชอาสน์ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็นอุณาโลม รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือวงจักรเป็นเศวตฉัตร ๗ ชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์อันหมายถึง พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มีพระบรมเดชานุภาพเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ได้ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ตามโบราณราชประเพณี และสมาชิกรัฐสภาได้ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปดเป็นครั้งแรก แทนราชบัณฑิตส่วนพระแท่นลานั้นโรยด้วยดอกพิกุลเงินพิกุลทอง ๙ ดอก พระราชลัญจกรล้อมรอบด้วยเพชร ๘๐ เม็ด หมายถึงพระชนพรรษา ๘๐ พรรษา ด้านบนพระราชลัญจกรเป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ภายในพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นเลข ๙ หมายถึงรัชกาลที่ ๙ พระมหาพิชัยมงกุฎนั้นอยู่ด้านหน้าพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งอยู่กึ่งกลางและขนาบข้างด้วยเศวตฉัตร ๗ ชั้น อันเป็นเครื่องแสดงพระราชอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ ด้านล่างพระราชลัญจกรเป็นเลข ๘๐ หมายถึงพระองค์มีพระชนพรรษา ๘๐ พรรษา ถัดจากเลขไทยลงมาเป็นแพรแถบบอกชื่องาน พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ แพรแถบนอกจากบอกชื่องานพระราชพิธีแล้ว ยังรองรับประคองเศวตฉัตรด้วย


ข้อปฏิบัติการขอใช้ตราสัญลักษณ์และการประดับธงกับตราสัญลักษณ์

          เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา  5  ธันวาคม  2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม  2550  และรัฐบาลโดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา  5  ธันวาคม  2550  ได้กำหนดการขอใช้ตราสัญลักษณ์ และการประดับธงกับตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ ดังนี้

          1. กรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป มีความประสงค์นำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใดๆ  ก็ตาม ให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการ เพื่อพิจารณาคำขออณุญาต (สำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมราชวัง เขตพระนคร เขตพระนคร  กทม. 10200 โทร.0-2225-3457-62)

          2. โครงการและกิจกรรมที่ผ่านมาพิจารณาให้ความเห็นชอบ  เป็นโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ  จากคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ แล้วสามารถนำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในโครงการและกิจกรรมได้เลย  โดยให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการทราบ เพื่อรวบรวมบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์  ยกเว้นโครงการและกิจกรรม ที่ดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดรายได้ จะต้องได้รับการพิจารณาจากสำนักราชเลขาธิการก่อน

          3. ให้ประดับธงชาติไทยคู่กับธงผืนผ้าสีเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์บนผืนผ้า  และประดับตราสัญลักษณ์ ตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ของหน่วยงาน  เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี  โดยไม่ต้องขออนุญาต จากสนำนักราชเลขาธิการ ทั้งนี้ ให้ประดับในระยะเวลาของการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ  โดยเริ่มตั้งแต่วันที่  1  มกราคม  2550  ถึงวันที่  31  ธันวาคม  2550

เพลง “พ่อแห่งแผ่นดิน ”


กดปุ่ม Play เพื่อเล่นเพลง

“พ่อแห่งแผ่นดิน ”


คำร้อง: ชาลี อินทรวิจิตร , อาจินต์ ปัญจพรรค์ , สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ , สุรพล โทณะวณิก
ทำนอง: เรืออากาศตรี ศ.พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ , วิรัช อยู่ถาวร , พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ ,
จิรวุฒิ กาญจนะผลิน


( หญิง).... อัครศิลปิน กรองศาสตร์ กรองศิลป์ การดนตรี
ร้อยกรอง บทกวี ซึ้งกมล
ตราบฟากฟ้า ครึ้มฝน ต้นไม้ทุกต้น พลอยยินดี รู้รักสามัคคีเพื่อพ่อแห่งไทย

( ชาย).... เหล่าประชา คารวะ สดุดี
แผ่นดินนี้ มีสุข ด้วยองค์ พระทรงชัย
บรรดาชาติชน ชื่นชม สมใจ
ถวายบังคม เทิดไท้ ภูมิพลมหาราชา

( หญิง)... ภักดีถวาย ดวงใจ ของไทยทั้งชาติ
มหาราช ปราดเปรื่อง เรื่องของกีฬา

( ชาย).... ล้ำเลิศสื่อสาร พลังงานแทนแก้ปัญหา
ฝนหลวง ฟ้าห่วงชาวนา
ชาติไทยนับว่า โชคดี

( ชาย – หญิง) ........ทรงนำเศรษฐกิจพอเพียง หล่อเลี้ยงชีวา เป็นปรัชญา เกริกฟ้า ก้องปฐพี
ไทยทั้งผอง ภูมิใจ ไทยเป็นไทยจนวันนี้
เพราะองค์ภูมิพลที่ คุ้มครองไทย



ส่งการ์ดสวยๆ ให้พ่อและคนที่คุณรัก พร้อมเพลง คลิกเลยจ้าาา



วันสำคัญอื่นๆ
- วันลอยกระทง
- วันพ่อแห่งชาติ
- วันคริสต์มาส
- วันขึ้นปีใหม่
- วันครู
- วันวาเลนไทน์
- วันสงกรานต์
- วันสุนทรภู่





กลอน , เกมส์ , ดูดวง , อาหารเพื่อสุขภาพ , แชท , ฟังวิทยุออนไลน์ , ดูทีวีออนไลน์ , เรื่องตลก , เรื่องผี , ตัวอย่างหนัง , หาเพื่อน , มุม msn , วันสำคัญ , รวมของฟรี , อีการ์ด , อ่านข่าว , มือถือ , ทำนายฝัน , วัดความเร็วเน็ต , รถยนต์ , วอลล์เปเปอร์ , รูปการ์ตูน , เซียมซี , ชื่อมงคล , เนื้อเพลง , คอมพิวเตอร์ , อินเตอร์เน็ต , จัดอันดับเว็บไซต์ , เที่ยวเชียงราย , ปรับขนาดรูป , พยากรณ์อากาศ , ราคาน้ำมัน , ราคาก๊าซหุงต้ม , Hi5 , ผู้หญิง , ท่องเที่ยว , พระเครื่อง , แปลศัพท์ , โปรโมทเว็บฟรี
ลิงค์แนะนำ






- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Copyright www.zabzaa.com (ซาบซ่าส์ดอทคอม)