audioQUART AQ-M65HD

audioQUART AQ-M65HD

การเลือกซื้อลำโพงรถยนต์

1. Sensitivity (ความไว)
เป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพของลำโพง โดยเป็นค่าความดัง เทียบกับวัตต์ และระยะห่างจากลำโพง มีหน่วยเป็นเดซิเบลต่อมิลลิวัตต์ต่อเมตร (dB/mw/m) หรือมักเขียนในรูปแบบ dB/mw (บางแหล่งระบุเป็น dB/2.83v/m @8ohms)

ตัวอย่างเช่น
1.1 ลำโพงตัวแรกมีค่าความไวที่ 87dB/1w
1.2 ลำโพงตัวที่สองมีค่าความไวที่ 90dB/1w

เมื่อจ่ายพลังงานให้กับลำโพงที่ 1 วัตต์เท่ากัน เสียงของลำโพง 90dB/1w (ตัวที่สอง) จะดังกว่าตัวแรกถึง 2 เท่า (ดังกว่าเท่ากับ 3 dB) ณ ระยะห่างจากลำโพง 1 เมตรเท่ากัน

แต่อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการพิจารณาค่าความไวของแต่ละลำโพงแล้ว ควรพิจารณากำลังขับสูงสุดที่ลำโพงสามารถรับได้ด้วย เพราะลำโพงบางรุ่นความไวสูง แต่รองรับกำลังขับสูงสุดต่ำ จะเหมาะกับเครื่องเล่นที่มีกำลังขับต่ำ ไม่สามารถรองรับภาคขยายกำลังสูงได้ แต่ในขณะเดียวกัน ลำโพงที่มีค่าความไวต่ำ แต่รองรับกำลังขับสูงสุดสูง ก็จะสามารถรองรับเครื่องเล่นที่มีภาคขยายกำลังสูงได้ แต่จะไม่เหมาะกับเครื่องเล่นที่มีกำลังขับต่ำ มันจะไม่ดังได้ดั่งใจ

2. Input Impedance (ความต้านทาน)
ลำโพงจะมีความต้านทานแปรตามความถึ่ แต่ตามสเปคจะเรียกตาม “nominal impedance” ซึ่งมีความต้านทานโดยทั่วไปที่ 4, 6, 8, 16 โอห์ม ยิ่งความต้านทานน้อย ยิ่งต้องใช้กระแสมากเพื่อให้ได้วัตต์สูงหรือเสียงที่ดังชัด ดังนั้นการใช้ลำโพงแบบ 4 โอห์ม จึงต้องใช้พาวเวอร์แอมป์ช่วย เพื่อเพิ่มเสียงให้ดังขึ้น มากกว่าลำโพงแบบ 8 โอห์ม แต่ทั้งนี้ค่าความต้านทานไม่ได้สัมพันธ์กับเรื่องคุณภาพของเสียงแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดีการใช้ลำโพงแบบ 4 โอห์ม ควรระมัดระวังในการต่อเข้ากับชุดขยาย เนื่องจากหากต่อลำโพงแบบ 4 โอห์มในรูปแบบขนานกันเข้ากับชุดขยายจะได้โหลดขนาด 2 โอห์ม ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับ “Short Circuit” อาจส่งผลให้ชุดขยายของคุณพังได้

3. Power rating (กำลังขับ)
หน่วยของการวัดกำลังขับลำโพง แบ่งออกเป็นสองหน่วยคือ PMPO (Peak Mornentary Performance Output) จะเป็นหน่วยที่วัดค่าสูงสุดที่ลำโพงสามารถรับได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปค่าดังกล่าวนี้จะค่อนข้างสูง

ส่วนอีกหน่วยคือ RMS(Route Mean Square) เป็นค่ากำลังขับของลำโพงโดยเฉลี่ย ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าค่า PMPO และมีค่าค่อนข้างต่ำกว่า PMPO

สำหรับลำโพงที่มีกำลังขับสูง สามารถรองรับกำลังขับจากภาคขยายได้สูง จะมีราคาแพง และต้องการกำลังขับในระดับทั่วไปที่ค่อนข้างสูง จึงจะได้เสียงที่ดีตามประสิทธิภาพของลำโพง แต่สำหรับลำโพงกำลังขับต่ำ รองรับกำลังขยายได้ต่ำ เมื่อนำมาใช้งานกับภาคขยายที่สูงกว่ามาก อาจทำให้ลำโพงพังได้

แต่ทั้งนี้บางทีคุณอาจคิดว่าเครื่องขยายขนาด 200 วัตต์ต่อช่อง มีอันตรายกว่าเครื่องเล่นขนาด 50 วัตต์ต่อช่อง เมื่อต่อใช้งานกับลำโพงที่มีกำลังขับ 100 วัตต์ แต่ในความเป็นจริง เมื่อเปิดที่ระดับเสียงดังเท่าๆ กัน เครื่องเล่นขนาด 50 วัตต์อาจมีกำลังขับไม่เพียงพอต่อลำโพง ทำให้ไม่สามารถขับลำโพง 100 วัตต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจส่งผลเสียต่อลำโพงของคุณ หากใช้กำลังขับสูงสุด เพื่อพยามขับลำโพงให้เสียงดัง

4. Frequency Response (การตอบสนองความถี่)
ความถี่ของเสียงที่มนุษย์ทั่วไปสามารถได้ยินอยู่ในช่วง 20 – 20kHz โดยความถี่สูงหรือเสียงสูงจะมีลักษณะเสียงแหลม ในขณะที่ความถี่ต่ำหรือเสียงต่ำจะมีลักษณะเสียงทุ้ม ลำโพงแบบ Full range ที่ใช้ลำโพงตัวเดียวขับเสียงทุกความถี่ ควรจะสามารถขับเสียงได้ตั้งแต่ 20 – 20 kHz เพื่อให้สามารถแสดงเสียงทุกความถี่ที่คุณสามารถได้ยิน แต่โดยทั่วไปจะมีการแยกลำโพงสำหรับขับเสียงความถี่ต่างๆ ได้แก่ ลำโพงเบส ที่จำเป็นต้องใช้พลังงานสูง และดอกลำโพงที่ใหญ่ สำหรับขับเสียงความถี่ย่าน 20 – 200 Hz และลำโพงเสียงกลาง/สูง (mid high) ที่ใช้ลำโพงดอกเล็กขับเสียงความถี่ย่าน 1,000 Hz นอกจากนี้ยังมีการใช้ tweeter ที่มีขนาดเล็กมาใช้สำหรับขับเสียงแหลมที่มีความถี่มากกว่า 5kHz

5. ขนาดและน้ำหนักของลำโพง
เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ลำโพงที่มีขนาดใหญ่และหนักจะดีกว่า โดยเฉพาะเกี่ยวกับลำโพงที่เน้นเบส หรือจำพวกซับนั้น ลำโพงที่ใหญ่จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า

ที่มา siamget.com/buyerguide/282





ความรู้เรื่อง การประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การประกันภัยเพื่อคุ้มครองความสูญเสีย หรือเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเก๋งส่วนบุคคล รถ บรรทุก รถโดยสาร และรถจักรยานยนต์ ซึ่งได้แก่ ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ได้แก่ ความเสียหาย บุบสลาย หรือสูญหายของตัวรถยนต์ นอกจากนี้ความสูญเสียหรือเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกายละทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้นด้วย อ่านเรื่องประกันทั้งหมดคลิก